วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

บริหารตา

ท่าที่ 1 กรอกลูกตามองไปทางซ้ายสุด และมองมาทางขวาสุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 ครั้ง ท่าที่ 2 เหลือบลูกตาขึ้นมองเพดาน โดยวางหน้าตรงไม่แหงน และเหลือบตาลงล่างสุดมองพื้น ทำขึ้นๆลงๆ 10 ครั้ง ท่าที่ 3 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วซ้าย และลากตาเหลือบลงมาที่แก้มขวา ทำ 10 ครั้ง ท่าที่ 4 เหลือบตามองขึ้นไปที่ปลายคิ้วขวา และลากตาเหลือบลงมาที่แก้มซ้าย ท่าที่ 5 กรอกลูกตาหมุนไปเป็นวงกลมซ้าย-ขวา ทำข้างละ 10 ครั้ง ท่าที่ 6 เป็นการเพ่งลูกตาเพื่อบริหารกล้ามเนื้อทั้ง 6 มัด พร้อมกันโดยการนั่งบนเก้าอี้ วัดความสูงจากยอดศีรษะตนเองถึงก้นที่นั่ง บนเก้าอี้ เช่น วัดได้ 70 เซนติเมตร เอาความยาว 70 เซนติเมตร วัดจากลูกตาไปที่กำแพงในท่านั่งเก้าอี้แล้วจุดหรือทำสัญลักษณ์ไว้ที่กำแพง ระดับเดียวกับลูกตาในขณะที่นั่งเก้าอี้นั้น จากนั้นค่อยๆเพ่งมองจุดหรือสัญลักษณ์นั้น ห้ามกระพริบตาจนรู้สึกแสบตา น้ำตาเอ่อออกมาจึงค่อยกระพริบตา ทำหลายๆครั้ง จะรู้สึกว่าสายตามองชัดเจนขึ้น ท่าที่ 7 หลับตาทั้งสองข้าง เอานิ้วชี้ทั้งสองข้างวางเหนือหัวคิ้วแต่ละข้างแล้วค่อยๆกดนวดคิ้วและรอบดวงตา เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่อยู่รอบนอกของตา นอกจากลดสายตาสั้นกันสายตายาว ช่วยให้ไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยๆแล้ว การบริหารดวงตายังช่วยลดและป้องกันอาการบกพร่องที่จอรับภาพได้อีกด้วย (อาการบกพร่องที่จอรับภาพคือรู้สึกตามีแสงแปลบปลาบหรือเห็นหิ่งห้อยวิ่งไปมา หรือเห็นเป็นแสงสว่างวงๆ วาบๆ บ่อยๆ อาการเหล่านี้หากปล่อยไว้จอรับภาพอาจพิการหรือถึงกับมองไม่เห็นได้) เพราะการบริหารลูกตาอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วัน ช่วยให้เลือดมาเลี้ยงจอรับภาพมากขึ้น อาการบกพร่องจะน้อยลงหรืออาจหายไปได้ และสำหรับคนที่สายตาปกติดีอยู่แล้ว การบริหารนี้ก็ช่วยให้กล้ามเนื้อตาแข็งแรง และนัยน์ตาสดใสค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: